

January 2016
Mae Kam Pong Coffee
02
ถ้าพูดถึง "ชา"หรือ"กาแฟ" ในขณะที่เราอยู่ที่หมู่บ้านแม่แกปอง จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ ก็ต้องนึกถึง กาแฟสดแม่กำปอง
นั่นเอง เพราะชาวบ้านที่นี่พิถีพิถันตั้งแต่วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์ การคัดเลือกต้นอ่อน การเก็บเกี่ยว การสีเปลือก การตากแห้ง หรือที่เรียกว่า Coffee dry processing การคั่วอย่างพิถีพิถัน ตลอดจนกระบวนการบรรจุภัณฑ์ และวางจำหน่าย
เรามาดูรายละเอียกกันด้านล่างเลยครับ


หมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อว่า "แม่กำปอง" แทบจะกล่าวได้ว่าซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาของอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ของประเทศไทย เป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟ พันธุ์อาราบิก้าและใบชา (ใบเมี่ยง) ชั้นดี เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,300 เมตร มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ชาวบ้านที่นี่ใช้วิถีการปลูกกาแฟแบบธรรมชาติและปลอดสารเคมี ทำให้ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพดีเยี่ยม ทั้งในด้านรสชาติและความหอมละมุน ไม่แพ้เมล็ดกาแฟจากแหล่งใด ในโลก นอกจากนี้ "บ้านแม่กำปอง" ยังเป็นที่รู้จักในฐานะชุมชนที่มีการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง เคยได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2550 ชาวหมู่บ้านแม่กำปองเริ่มต้นปลูกกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปลูกต้นชาเมี่ยงมานานกว่า 20 กว่าปี โดยความช่วยเหลือจากโครงการหลวงฯ ศูนย์ตีนตก
ที่ได้เข้าริเริ่มแนะนำพันธุ์พืชต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ให้ชาวบ้านได้ทดลองปลูก อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับชาวหมู่บ้านแม่กำปองอีกด้วย
ทุกวันนี้บ้านแม่กำปอง ผลิตเมล็ดกาแฟได้มากกว่า 5 ตันต่อปีภายใต้การทำงานของ"กลุ่มแปรรูปอาราบีก้าแม่กำปอง"
ถือเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเอง และสร้างผลผลิตกาแฟแบบปลูกเอง คั่วเอง ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และจัดจำหน่ายเองโดยสมาชิกในชุมชน "บ้านแม่กำปอง" สามารถสร้างผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพดีได้ เพราะมีระดับความสูง และภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟชั้นเยี่ยม ชาวบ้านใช้วิถีการเกษตรแบบธรรมชาติ ปราศจากการใช้สารเคมี"
หมู่บ้านแม่กำปองทุกวันนี้ มีสมาชิกทั้งหมดราว 130 ครัวเรือน ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งนั้นปลูกกาและชาใบเมี่ยงในพื้นที่ของตน
โดยมีการรวมกลุ่มกันทำงานงานกันอย่างสามัคคี การปลูกกาแฟของที่นี่ มักเป็นรูปแบบของการปลูกพืชแบบผสมผสาน ภายใต้ร่มเงาของต้นชาเมี่ยงที่ปลูกกันมาแต่ดั้งเดิม โดยฤดูการเก็บเกี่ยวกาแฟจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม อาจยาวถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปี หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วนั้น สมาชิกกลุ่มจะนำเมล็ดกาแฟมาแปรรูปในโรงคั่วกาแฟที่สร้างขึ้นโดยงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลห้วยแก้ว โดยทางสมาชิกจะมีการรวมกลุ่มกันซื้อขายโดยหลังจากหักต้นทุนกาแฟ ค่าเชื้อเพลิงในการคั่ว ค่าบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ แล้วนั้น ก็จะปันกำไรส่วนหนึ่งมาเป็นทุนดำเนินงานของกลุ่ม ก่อนที่จะจัดสรรรายได้สุทธิที่เหลือ ไปตามกำลังการผลิตของแต่ละครัวเรือนเป็นลำดับสุดท้าย
Mae Kampong is a small village in the remote valley of Chiang mai, located at over 1300 meters
above the sea level where is suitable for growing good Arabica coffee that can compete to imported coffee bean in term of quality.
Over half of entire 133 households in Mae Kampong village involve into coffee industry which
organized to be independent and self-sufficient. The villagers control all processes of coffee production from growing, roasting, packaging, to distributing their products to the coffee lovers in Chiang mai as well as other cities under the name of Arabica Mae Kampong group.
"We have grown the coffee for more than 20 year from the support of the Royal development
project in this area".
The story of Arabica from Mae Kampong is an excellent example of the corporative community
work. The individual households grow coffee, collect their produce, process and selling it under the single brand. Moreover, they contribute to the group's expense and share the profit. The community working hard and support itself by getting assistance from the local government unit for necessary equipment and knowledge.
Mae Kampong village also recognized as one of successful local community in eco-tourism
management competition last year.




















Ted du Coffee Shop

Lung Pud & Pa Peng Coffee Shop
